การจัดวงอังกะลุง
วงอังกะลุง สามารถแบ่งตามการประสมวงได้ 3 ประเภทคือ
1. วงอังกะลุงวงเล็ก (วงเริ่มต้น) ประกอบด้วย
- อังกะลุง ชุด 7 คู่เสียง (14 ตับ) จำนวน 1 ชุด
- กลองแขก จำนวน 1 คู่
- ฉิ่ง จำนวน 1 คู่
- ฉาบเล็ก จำนวน 1 คู่
- กรับ จำนวน 1 คู่
- โหม่ง 3 ใบ จำนวน 1 ชุด หรือโหม่งใบเดียว จำนวน 1 ชุด
2. วงอังกะลุงเครื่องคู่ ประกอบด้วย
- อังกะลุง ชุด 7 คู่เสียง (14 ตับ) จำนวน 2 ชุด เท่ากับมีจำนวนอังกะลุง จำนวน 28 ตับ
- กลองแขก จำนวน 1 คู่
- ฉิ่ง จำนวน 1 คู่
- ฉาบเล็ก จำนวน 1 คู่
- กรับ จำนวน 1 คู่
- โหม่ง 3 ใบ จำนวน 1 ชุด หรือโหม่งใบเดียว จำนวน 1 ชุด
3. วงอังกะลุงวงใหญ่ ประกอบด้วย
- อังกะลุง ชุด 7 คู่เสียง (14 ตับ) จำนวน 4 ชุด เท่ากับมีจำนวนอังกะลุง จำนวน 56 ตับ
- กลองแขก จำนวน 1 คู่
- ฉิ่ง จำนวน 1 คู่
- ฉาบเล็ก จำนวน 1 คู่
- กรับ จำนวน 1 คู่
- โหม่ง 3 ใบ จำนวน 1 ชุด หรือโหม่งใบเดียว จำนวน 1 ชุด
การเก็บรักษา และการดูแลอังกะลุง
อังกะลุงทำจากไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ จึงมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากการใช้งาน เพื่อให้อังกะลุงมีการใช้งานที่ยาวนาน ทางร้านจึงมีข้อแนะนำดังนี้ครับ
1. อย่าให้กระบอกของอังกะลุงล้มกระทบพื้นบ่อยๆ ควรวางพิงให้มั่นคง หรือวางนอนราบกับพื้นตามตำแหน่งผู้บรรเลง
2. ควรเก็บเรียงอังกะลุงตามลำดับเสียง เพื่อง่ายและสะดวกต่อการหยิบมาใช้งาน หากมีภาชนะเช่นกล่องหรือลัง ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนอังกะลุง สามารถนำมาใช้จัดเก็บอังกะลุงได้
3. ควรฉีดพ่นยากันมอด อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันมอดไม้ไผ่ไม่ให้มากินเนื้อไม้ ถึงแม้ในกระบวนการผลิตจะผ่านการทาน้ำยากันมอดแล้วก็ตาม
4.ควรให้ผู้เล่นสำรวจอังกะลุงของตนเองว่ากระบอกไม้ไผ่เกิดการลานของไม้หรือไม่ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดบริเวณข้อไม้ไผ่ อันมีสาเหตุจากอายุของไม้ที่แก่ขึ้รวมถึงสภาพอกาศทที่ร้อนหรือแห้ง หากมีให้ใช้กาวร้อนสำหรับงานไม้หยอดตรงรอยร้าวหรือรอยแตกรานของไม้ เพื่อเป็นการหยุดไม่ให้รอยนั้นแตกลานเพิ่มต่อไป และยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ
|